บทที่ 3 การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์

                          บทที่ 3 การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์

 

 1.โครงสร้างข้อมูลในภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันจำแนกออกเป็น3 ประเภท    

1.1 โครงสร้างข้อมูลเบื้องต้น (Primitive data structure) เป็นข้อมูลพื้นฐานซึ่งมีโครงสร้างข้อมูลไม่ซับซ้อนจะต้องมีในภาษาคอมพิวเตอร์ทุกภาษา
จะเป็นลักษณะที่กำหนดในภาษานั้นๆ ตัวอย่างของข้อมูลประเภทนี้ เช่น
- จำนวนเต็ม(integer)
- จำนวนจริง(real)
- ตัวอักขระ(character)
1.2  โครงสร้างอย่างง่าย (Simple data structure) เป็นข้อมูลที่เกิดจากการนำโครงสร้างข้อมูลเบื้องต้นมาประกอบกันเป็นโครงสร้างข้อมูลที่หลากหลายขึ้น
ข้อมูลที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคแรกเป็นข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้นแต่ในปัจจุบันภาษาคอมพิวเตอร์เกือบทุกภาษามีข้อมูลโครงสร้างด้วยแทบทั้งสิ้น
ตัวอย่างข้อมูลโครงสร้าง เช่น
- แถวลำดับ (array)
- เซต (set)
- ระเบียนข้อมูล (record)
- แฟ้มข้อมูล (file)
1.3  โครงสร้างข้อมูลซับซ้อน (Compound data structure) เป็นการนำเอาข้อมูลองค์ประกอบอย่างง่าย ประกอบขึ้นมาเป็นโครงสร้างข้อมูลซับซ้อน
โครงสร้างข้อมูลประเภทนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
1.3.1 โครงสร้างข้อมูลแบบเชิงเส้น (linear data structures) เป็นชนิดข้อมูลที่ความสัมพันธ์ของข้อมูลเรียงต่อเนื่องกัน
โดยข้อมูลตัวที่ 2อยู่ต่อจาก ข้อมูลตัวที่ 1 ข้อมูลตัวที่ 3 อยู่ต่อจากข้อมูลตัวที่2 และข้อมูลตัวที่ n อยู่ต่อจากข้อมูลตัวที่ n- 1 ตัวอย่างโครงสร้างข้อมูลแบบเชิงเส้น เช่น
- ลิสต์ (list)
- สแตก (stack)  
- คิว (queue)
- สตริง (string)
1.3.2 โครงสร้างข้อมูลแบบไม่ใช่เชิงเส้น (non-linear data structures) เป็นชนิดข้อมูลที่ข้อมูลแต่ละตัวสามารถมีความสัมพันธ์กับข้อมูลอื่นได้หลายตัว
ตัวอย่างโครงสร้างข้อมูลแบบไม่ใช่เชิงเส้น
- ทรี (tree)
- กราฟ (graph)
 

2.โครงสร้างข้อมูล
 
 บิต  (Bit)  คือเป็นตัวแทนของหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูลที่คอมพิวเตอร์สามารถจัดเก็บข้อมูลในหน่วยความจำของระบบคอมพิวเตอร์  ซึ่งประกอบด้วยเลขฐานสอง  นั่นก็คือ  0  และ  1  เท่านั้น
  ไบต์  (Byte)/อักขระ  (Characters)  คือการนำกลุ่มของบิต 7 Bits  หรือ 8 Bits  (ขึ้นอยู่กับมาตรฐานที่ใช้)มารวมกันเป็นตัวอักษร  ตัวเลข  หรือสัญลักษณ์พิเศษ  หนึ่งตัวอักษร  (Character)  เช่น  รหัส  ASCII  1  ไบต์  ซึ่งจะเก็บข้อมูล  01000001  แทนตัวอักษร 
  ฟิลด์  (Field)  คือข้อมูลที่ประกอบด้วยอักขระ  เพื่อให้สามารถสื่อความหมายตามที่ผู้ใช้ต้องการ  เช่น  ชื่อพนักงาน  นามสุกล
 ระเบียน (Record)  คือการรวมกลุ่มของฟิลด์หลายๆ  ฟิลด์ที่มีความหมายเกี่ยวพันกันมารวมกันอย่างมีความหมาย ไฟล์/ แฟ้มข้อมูล  (File)  คือเป็นการรวมกันของระเบียนหลายๆ ระเบียนที่เกี่ยวพันกันมารวมกัน  เช่น  แฟ้มข้อมูลลูกค้า  แฟ้มข้อมูลการขายสินค้า
 ฐานข้อมูล  (Database)  คือ กลุ่มของข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง (Real  Fact) ที่ถูกนำมารวมไว้ในที่เดียวกันอย่างเป็นระบบ  เพื่อนำไปใช้ในวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง  โดยกลุ่มของผู้ใช้ตั้งแต่หนึ่งกลุ่มขึ้นไป  โดยข้อมูลเหล่านั้นอาจเป็นได้ทั้งข้อความ  รูปภาพหรืออื่นๆ  ซึ่งแต่ละไฟล์ที่นำมารวมกันจะมีความซ้ำซ้อนของข้อมูลน้อยที่สุด


ไบต์ (Byte) ได้แก่ ตัวอักษร เป็นการนำเอาบิตมารวมกัน โดย 8 bit = 1 Byte
ชื่อ
อักษรย่อ
จำนวนไบท์
กิโลไบท์(kilobyte)
KB
1024 Bytes
เมกะไบท์(Megabyte)
MB
1024 KB
กิกะไบท์(Gigabyte)
GB
1024 MB
เทอราไบท์(Terabyte)
TB
1024 GB
พีดาไบท์(Petabyte)
PB
1024 TB


 
 3.ตัวอย่างแฟ้มข้อมูล

4.ความแตกต่างระหว่างการประมวลผลแบบแบชและแบบเรียลไทม์

4.1  การประมวลผลแบบแบตซ์  (Batch  Processing)   คือการประมวลผลข้อมูลที่ได้ทำการเก็บรวบรวมไว้เป็นชุดข้อมูล  แล้วจึงนำส่งข้อมูลเหล่านั้นไปทำการประมวลผลข้อมูลพร้อมกันทั้งหมด  ทีเดียวซึ่งระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลเอาไว้เพื่อรอการประมวลผล  อาจจะเป็นรายวัน  รายสัปดาห์  รายเดือน  หรือรายปี  เป็นต้น  เช่นการประมวลผลการเสียภาษีประจำปี   การคิดดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคาร
4.2  การประมวลผลแบบเรียลไทม์  (Real - Time Processing)  คือ  การประมวลผลทันทีทุกครั้งที่มีการส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบ  บางทีอาจจะเรียกว่า  การประมวลผลแบบ  Transaction  Processing   เช่น  ระบบเงินฝาก  -  ถอนเงินด้วย  ATM  ของธนาคาร  ระบบสำรองที่นั่งในเครื่องบิน  ระบบการตัดยอดสินค้าคงคลังทุกครั้งที่มีการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้า  เป็นต้น
การประมวลผลข้อมูลทั้งสองวิธีขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงานของระบบว่ามีความจำเป็นมากน้อยเพียงใดที่จะต้องทำการประมวลผลทันทีหรือสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เป็นกลุ่มก่อนแล้วจึงทำการประมวลผลพร้อมกันทีเดียว  เช่น  การประมวลผลการเสียภาษี  จะทำการประมวลผล  1  ปีต่อครั้ง  เนื่องจากการคิดภาษีเป็นการคิดจากรายได้ตลอดปี  แต่การตัดยอดบัญชีเงินฝากของลูกค้าจำเป็นที่จะต้องทำการประมวลผลทันทีทุกครั้งที่มีการฝากหรือถอนเงิน  ทั้งนี้เพื่อทราบยอดคงเหลือที่ลูกค้ามีอยู่    ปัจจุบัน  เป็นต้น

    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น